การรับมือกับความเครียดจากการรักษาโรคเบาหวาน
การรับมือกับความเครียดจากการรักษาโรคเบาหวาน
กรกฎาคม 2565

คุณรู้สึกกังวลกับการรักษาโรคเบาหวานตลอดเวลาหรือเปล่า จะเลิกทานข้าวขาวได้อย่างไร?ควรทานอะไรเป็นมื้อเที่ยงดี? จะจัดการยาพวกนี้อย่างไร? หาเวลาออกกำลังกายไม่ได้เลย ควรทำอย่างไรถ้าระดับน้ำตาลสูงกว่าปกติ? ต้องจัดการกับเครียดและระดับน้ำตาลอย่างไร?จะทำอย่างไรถ้าเกิดภาวะแทรกซ้อนในอนาคต?
หากมีคำถามเหล่านี้แสดงว่าคุณกำลังเผชิญกับสิ่งที่เรียกว่าภาวะความเครียดจากการรักษาโรคเบาหวาน
ความเครียดจากการรักษาโรคเบาหวาน
การใช้ชีวิตกับโรคเบาหวานและการรักษาโรคเบาหวานอาจสร้างความยุ่งยากให้กับชีวิตของผู้เป็นเบาหวานและอาจกลายเป็นเรื่องที่น่ากลัวและทำให้เกิดความท้อแท้ ความเครียดจากโรคเบาหวานเป็นความเครียดประเภทหนึ่งที่ผู้เป็นโรคโรคเบาหวานมักพบเจอ1 ความเครียดประเภทนี้ต่างจาก ความเครียดทางอารมณ์ เช่น ภาวะซึมเศร้า อาการวิตกกังวล ความเจ็บปวดทางจิตใจและความเครียดจากการทำงาน และความเครียดทางกายภาพ ซึ่งเกิดจากภายนอก รวมถึงกิจกรรมต่าง ๆ ที่ใช้เวลานานและอาการบาดเจ็บสาหัสหรืออาการบาดเจ็บต่าง ๆ2
พูดง่ายๆ ก็คือ หากคุณมีความเครียดประเภทนี้ นั่นไม่ได้หมายความว่าคุณเป็นโรคซึมเศร้าเสมอไป3
เรามักมองข้ามความเครียดจากการรักษาโรคเบาหวานเพราะต้องเอาใจใส่กับการรักษาโรคเรื้อรังต่างๆ จากโรคเบาหวาน จนอาจส่งผลกระทบด้านอารมณ์และก่อให้เกิดความกังวลโดยที่เราไม่รู้ตัว1,3 ความเครียดนี้เกิดจากการที่เรา ต้องดูแลโรคต่าง ๆ ตลอดเวลา เช่น ต้องทานยาปริมาณเท่าไหร่และบ่อยขนาดไหน น้ำตาลในเลือดอยู่ในระดับเท่าใด ต้องทานอะไรต้องและทานแบบไหน และต้องออกกำลังกายแบบไหนถึงจะเหมาะสม1 เช่นเดียวกับความเครียดอื่น ๆ ความเครียดจากโรคเบาหวานสามารถส่งผลกระทบต่อความสามารถในการรักษาโรคเบาหวานของคุณได้ เช่น คุณอาจงดมื้ออาหารและไม่ออกกำลังกาย หรือลืมทานยา ซึ่งอาจทำให้คุณควบคุมระดับน้ำตาลได้ไม่ดี 1,3
แล้วความเครียดส่งผลกระทบต่อระดับน้ำตาลในเลือดของคุณอย่างไรกันล่ะ?
เมื่อคุณมีความเครียด ร่างกายของคุณจะปล่อยฮอร์โมนความเครียดที่ชื่อว่า คอร์ติซอล4,5 คอร์ติซอลเป็นเหมือนระบบแจ้งเตือนในร่างกายที่สั่งให้เราสู้หรือหนี4,5 คอร์ติซอลเป็นตัวควบคุมการใช้คาร์โบไฮเดรต ไขมัน และโปรตีนของร่างกาย เป็นตัวยับยั้งการอักเสบ เป็นตัวควบคุมความดันเลือดและการตื่นนอนของเรา และเป็นตัวเพิ่มพลังงานให้ร่างกายของเราสามารถจัดการกับความเครียดได้4
คอร์ติซอลยังช่วยลดการหลั่งอินซูลิน ซึ่งทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดเพิ่มขึ้น5 นี่อาจเป็นปัญหาได้ หากคุณเครียดต่อเนื่องหรือเครียดเรื้อรัง ในขณะที่ระบบแจ้งเตือนนี้ยังทำงานเพราะการมีคอร์ติซอลอยู่ในระดับสูงและการหลั่งอินซูลินอยู่ในระดับต่ำเป็นเวลานานอาจทำให้คุณมีระดับน้ำตาลในเลือดสูงถึงขั้นอันตรายได้ ถึงแม้ความเครียดจะไม่ได้เป็นสาเหตุของโรคเบาหวาน แต่ก็มีส่วนทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดสูง เช่น ภาวะน้ำตาลในเลือดสูง ซึ่งอาจทำให้ความเสี่ยงของภาวะแทรกซ้อนในผู้เป็นโรคเบาหวานสูงขึ้นและสร้างปัญหาด้านสุขภาพอื่นๆ ตามมาอีกมากมาย
เคล็ดลับการจัดการกับความเครียดและการรักษาโรคเบาหวานด้วยตนเอง
ถึงแม้คุณเอาความเครียดต่าง ๆ รวมถึงความเครียดจากโรคเบาหวานชีวิตออกไปจากชีวิตคุณไม่ได้ แต่คุณก็สามารถใช้วิธีต่างๆ ที่ช่วยให้คุณสามารถควบคุมโรคเบาหวานและจัดการกับความเครียดได้ดียิ่งขึ้น เคล็ดลับมีดังนี้:6,7
- ใส่ใจและพูดคุยกับผู้อื่นเรื่องความรู้สึกของตัวเอง –ลองเล่าปัญหาที่คุณเจอในการรับมือกับโรคเบาหวานอย่างตรงไปตรงมา
- ขอความช่วยเหลือ –เข้าร่วมกลุ่มสนับสนุนหรือมีปฏิสัมพันธ์กับคนที่คุณรักเพื่อให้พวกเขาสามารถช่วยคุณจัดการกับโรคเบาหวานด้วยวิธีต่าง ๆ ที่อาจส่งผลดีต่อตัวคุณเอง
- ดูแลเอาใจใส่ตัวเอง –พักเบรก นอนและพักผ่อนให้เพียงพอ และทำสิ่งที่คุณชอบ
- หมั่นสังเกตความคิดตัวเอง –เข้าใจและยอมรับความรู้สึกนึกคิดของตัวเอง
- ดูแลโรคเบาหวานด้วยเทคโนโลยี –แอปพลิเคชั่น/อุปกรณ์ช่วยเตือนสามารถช่วยคำนวณอาหารที่คุณทานและช่วยบันทึกการออกกำลังกาย8
ผู้เป็นโรคเบาหวานที่ได้รับการช่วยเหลือจากครอบครัว เพื่อนๆ หรือผู้เป็นโรคเบาหวานคนอื่นๆ มักรับมือกับการรักษาโรคเบาหวานและปรับตัวได้ดีกว่าผู้เป็นเบาหวานที่ไม่ได้รับการช่วยเหลือใด ๆ 10 คุณสามารถช่วยเหลือคนที่คุณรักที่เป็นโรคเบาหวานด้วยวิธีการต่อไปนี้:10
- ศึกษาเพิ่มเติมเกี่ยวกับโรคเบาหวานและวิธีให้ความช่วยเหลือ เช่น เตือนผู้เป็นเบาหวานที่กำลังรักษาโรคเบาหวานให้ทานยาและไปตามการนัดหมายเพื่อติดตามผล ช่วยเฝ้าติดตามระดับน้ำตาลในเลือดของผู้เป็นเบาหวาน
- ร่วมกันเปลี่ยนรูปแบบการทานอาหารและการใช้ชีวิต
- ชวนกันออกกำลังกาย
- มีความเข้าอกเข้าใจและไม่ตัดสินผู้ที่เป็นโรคเบาหวาน
การดูแลรักษาโรคเบาหวานอาจเป็นเรื่องยาก คุณอาจรู้สึกท้อแท้ หัวใจสำคัญคือการใส่ใจกับความรู้สึกของตัวเองและขอความช่วยเหลือที่คุณต้องการเพื่อให้คุณตัดสินใจเรื่องการดูแลรักษาโรคเบาหวานของตัวเองได้
ศึกษาเพิ่มเติมเกี่ยวกับการทานอาหารและการออกกำลังกายสำหรับผู้เป็นโรคเบาหวาน
อ้างอิง
- American Diabetes Association. Diabetes Care 2017;40(Supplement_1)S33–43.
- Pouwer F, et al. Discov Med 2010;9:112–8.
- Fisher L, et al.Diabetes Care 2013;36:2551–8.
- WebMD. What is cortisol? แหล่งที่มา: <232> https://www.webmd.com/a-to-z-guides/what-is-cortisol232> <238>.238> วันที่เข้าถึงข้อมูล เดือนมีนาคม พ.ศ. 2565
- Verywell Health. Can stress cause high blood sugar? แหล่งที่มา: <245> https://www.verywellhealth.com/can-stress-cause-high-blood-sugar-5116560#citation-1 245> <251>.251> วันที่เข้าถึงข้อมูล เดือนมีนาคม พ.ศ. 2565
- Centre for Disease Control and Prevention. 10 tips for coping with diabetes distress. แหล่งที่มา: <255> https://www.cdc.gov/diabetes/managing/diabetes-distress/ten-tips-coping-diabetes-distress.html 255> <261>.261> วันที่เข้าถึงข้อมูล เดือนมีนาคม พ.ศ. 2565
- Health Hub. Diabetes management and stress. แหล่งที่มา: <265> https://www.healthhub.sg/live-healthy/1440/diabetes-and-stress-problems 265> <271>.271> วันที่เข้าถึงข้อมูล เดือนมีนาคม พ.ศ. 2565
- Healthline. Choosing the best devices and tech to help you manage type 2 diabetes. แหล่งที่มา: <291> https://www.healthline.com/health/type-2-diabetes/best-devices-and-tech 291> <297>.297> วันที่เข้าถึงข้อมูล เดือนมีนาคม พ.ศ. 2565
- SingHealth. How to cope with stress of diabetes management. แหล่งที่มา: <304> https://www.healthxchange.sg/diabetes/living-well-diabetes/coping-diabetes-managment-stress 304> <310>.310> วันที่เข้าถึงข้อมูล เดือนมีนาคม พ.ศ. 2565